Royal Contributions

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชการที่ ๕ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓...

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิมหุติมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร(ศรก) พระราชโอรสลำดับที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ ๕ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมร...

คำสอนพระบิดา

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"

หอสมุดศิริราช หอสมุดแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

หอสมุดศิริราช มีประวัติอันยาวนานสืบย้อนไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เมื่อแรกสร้างตึกราชแพทยาลัย (ที่ตั้งตึก ๗๒ ปี ในปัจจุบัน) มีหลักฐานระบุว่า "ถัดไปมีตึกห้องสมุดอ่านหนังสืออยู่หลังหนึ่ง กว้าง ๒๐ ฟิศ ยาว ๘๐ ฟิศ สูง ๒๓ ฟิศ หลังคามุงกระเบื้องไทย ปูอิฐพื้นรอบตึก ใช้เป็นห้องสมุดสำหรับนิสิตแพทย์"

หอกีฬาศิริราชสัมพันธ์

หอกีฬาศิริราชสัมพันธ์ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเล่นกีฬา ออกกำลังกายและพักผ่อน ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยในช่วงแรก การสร้างหอกีฬาศิริราชสัมพันธ์ สร้างเป็นอาคารเฉพาะเล่นกีฬาในร่ม โดยได้รับเงินบริจาคจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันของศิริร...

ศิริราชมูลนิธิ : มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยยากไร้ และการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์

ศิริราชมูลนิธิ เป็นองค์กรสาธารณกุศล จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ มีสำนักงานอยู่ที่ ตึกมหิดลบำเพ็ญ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้เป็นองค์กรนิติบุคคล ที่มิใช่หน่วยราชการ ทำหน้าที่รวบรวม เก็บรักษาและจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคสมทบ

วารสารของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สารศิริราช ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ โดยคณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ลงมติรับโครงการของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย