คำสอนพระบิดา

Image 1
Image 3
Image 2
Image 4
Image 5

   
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการพัฒนาวงการแพทย์ สาธารณสุข การพยาบาล วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งการอุดมศึกษาของไทย เป็นอันมาก โดยทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข และการอุดมศึกษาของไทย ให้ทันสมัย ทัดเทียมกับต่างประเทศ พระราชทานทุนส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ ณ ต่างประเทศ
               
    การพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน สร้างตึก การจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติ และทรงอุทิศพระองค์ด้วยการไปศึกษาวิชาแพทย์และสาธารณสุข และมาปฏิบัติงานในฐานะแพทย์ รวมทั้งทรงพระกรุณาเป็นพระอาจารย์สอนนักเรียนเตรียมแพทย์ด้วย

    "การที่พระองค์ทรงอุบัติมาในโลกนี้ ทำให้โลกนี้ดีขึ้นเป็นแน่แท้" ศ. นพ. เอ.จี. เอลลิส

ตามรอยพระอนุศาสน์
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

  1. พ.ศ 2461 (ค.ศ.1918)
    True success is not in the learning,
    but in its application to the benefit of mankind

    แหล่งที่มา : คติพจน์ที่ทรงบันทึกไว้ที่แผ่นแรกหน้าสองของสมุดบันทึกปฏิบัติการวิชา Bacteriology ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

  2. พ.ศ.2466-2467 (ค.ศ.1923-1924)
    I do not want you to be only a doctor But I also want you to be a man.
    ขอให้พวกเธอจงเข้าใจและจำไว้ว่า ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอมีความรู้ทางแพทย์อย่างเดียว ฉันต้องการให้พวกเธอเป็น คนด้วย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑ ใน ศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนวย เสมรสุต เรื่อง พระกรณียกิจของ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร ที่ได้ประทานให้แก่แพทย์ปริญญารุ่นแรก ปี ๒๔๗๑. สารส่งเสริมความรู้. ฉบับพิเศษเนื่องในวันมหิดล พ.ศ.๒๕๐๗ หน้า ๑๐-๑๑


    เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้วมันจะไม่กลับมาอีก ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันให้เป็นประโยชน์แล้ว เราไม่ใช้มันก็เป็นที่น่าเสียดาย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑ ใน ศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนวย เสมรสุต เรื่อง พระกรณียกิจของ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร ที่ได้ประทานให้แก่แพทย์ปริญญารุ่นแรก ปี ๒๔๗๑. สารส่งเสริมความรู้ ฉบับพิเศษเนื่องในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑๐ – ๑๑


    พวกเธอทั้งหลาย การเล่นนั้นเป็นของดี การเรียนนั้นก็เป็นของดีและสำคัญ แต่การที่จะให้ดีกว่านั้น คือคนที่เรียนก็ดีและเล่นก็ดีด้วย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒.


    เมืองเรายังไม่มีอะไรเลย พวกเราต้องรู้ไว้ เมื่อเราเรียนสำเร็จแล้ว ควรพยายามคิดค้นทางวิชาการให้กว้างขวางขึ้น จะได้เทียบเคียงกับต่างประเทศเขาได้บ้าง ถ้ายังไม่รู้จะทำอะไรใหม่ก็ให้ศึกษาหาสิ่งธรรมดา ให้รู้ว่าคนไทย เรานั้นมีอะไรเป็นธรรมดาซึ่งเป็นมาตรฐาน

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒


    อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ์ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์ อาชีพแพทย์ต้องยึดมั่นในอุดมคติคือ เมตตา กรุณา

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒.

  3. พ.ศ.2470 (ค.ศ.1927)
    หัวใจของการเรียน ก็อยู่ที่ Practice

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง มจ.พูนศรีเกษม เกษมศรี วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐

  4. พ.ศ.2471 (ค.ศ.1928)
    คุณลักษณะสำหรับการเป็นแพทย์นั้น คือความเชื่อถือไว้ใจ
    ๑. ท่านต้องมีความเชื่อในความสามารถของตนเอง คือมีความมั่นใจ
    ๒. ท่านต้องมีความไว้ใจระหว่างแพทย์กันเอง คือความเป็นปึกแผ่น
    ๓. ท่านต้องได้ความเชื่อถือจากคนไข้ของท่าน คือความไว้ใจของคณะชน
    คุณสมบัติสามประการนี้เป็นอาวุธเกราะ และเครื่องประดับอันงามของแพทย์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    การที่จะได้ความไว้ใจของคนไข้ ขอท่านถือสุภาษิตว่า “ใจเขาใจเรา” ท่านอยากได้ความสบายแก่ตัวท่านอย่างไร ก็ควรพยายามให้ความสบายแก่คนไข้อย่างนั้น

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ความลับของการรักษาคนไข้นั้นคือ ความรักคนไข้

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นสุภาษิตของ ศาสตราจารย์ ฟรานซิส ว. พีบอดี (Francis W. Peabody)


    ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษยเปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    การที่เรียนจบหลักสูตรวิชาชีพแพทย์นั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นได้เรียนรู้การแพทย์หมดแล้ว แต่เป็นการตรงกันข้าม การที่เรียนจบนั้นเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของวิชาการศึกษาทางแพทย์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอ.จี. เอลลิส เรื่องประทานทุนเพื่อทำการสืบค้นคว้าและการสอนในโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑


    “เวลาที่ต้องรับผิดชอบเป็นผู้ดูแลคนไข้นั้น เป็นเวลาที่จะได้เรียนมากที่สุด"

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง นายแพทย์มนตรี มงคลสมัย กุมารแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งได้ทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ไปเรียนวิชากุมารเวชศาสตร์ ที่โรงพยาบาลเด็ก เมืองบอสตัน
    วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑


    จะเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในภายหน้าไม่ได้ นอกจากแพทย์ผู้นั้น เมื่อสำเร็จวิชามาใหม่ๆ จะรู้สึกตนว่าตนจะต้องยังคงเป็นนักเรียนอยู่ต่อไปอีกตลอดเวลาที่ทำการแพทย์นั้น

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอ.จี. เอลลิส เรื่องประทานทุนเพื่อทำการสืบค้นคว้าและการสอนในโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑


    ท่านควรยกย่องคณะที่ให้การศึกษาแก่ท่าน ท่านควรมีความภูมิใจในคณะของท่าน และท่านไม่ควรเรียนวิชาขึ้นใจ แล้วใช้เป็นเครื่องมือหากินเท่านั้นควรเก็บคำสอน ใส่ใจ และประพฤติตามผู้ที่จะบำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่าง ความประพฤติ ซึ่งจะนำมาแห่งสุขภาพแพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวสอนแก่คนไข้แล้วจะหาความไว้ใจจากคนไข้อย่างไรได้ท่านควรมีความเชื่อในตนเอง ไม่ใช่อวดดี ท่านต้องรู้สึกความรับผิดชอบและทำไปด้วยความตั้งใจดี แพทย์ผู้ที่ไม่ เชื่อในสิ่งที่ตนทำ และพูดหลอกให้คนไข้เชื่อนั้น คือแพทย์ทุจริตที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “แคว๊ค”ถึงแม้ผู้นั้นจะได้รับการศึกษาวิทยาศาสตร์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ในขณะที่ท่านประกอบกิจแพทย์ อย่านึกว่าท่านตัวคนเดียว จงนึกว่าท่านเป็นสมาชิกของ “สงฆ์” คณะหนึ่งคือคณะแพทย์ ท่านทำดีหรือร้ายได้ความเชื่อถือหรือความดูถูก เพื่อนแพทย์อื่นๆ จะพลอยยินดีหรือเจ็บร้อนอับอาย ด้วยนึกถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เป็นแพทย์ด้วยกันแพทย์ทุกคนมีกิจที่จะแสดงความกลมเกลียวในคณะแพทย์ต่อสาธารณชน เมื่อเกิดความเลื่อมใสในคณะแพทย์ขึ้นในหมู่ประชาชนแล้ว ผู้ที่จะตั้งต้นทำการแพทย์ ถึงจะยังไม่ได้มีโอกาสตั้ง ตัวในความไว้ใจของคน ก็จะได้ส่วนความไว้ใจเพราะเป็นสมาชิกของคณะที่มีผู้นับถือ เราเห็นพระบวชใหม่ที่ยังไม่เป็นสมภารเราก็ยกมือไหว้เพราะเรามีความนับถือในลัทธิของพระสงฆ์ฉันใดก็ดี แพทย์หนุ่มก็ได้ความไว้ใจเพราะคณะของเขา เป็นที่น่าไว้ใจ เพราะฉะนั้นความประพฤติดีของแพทย์บุคคลนำมาซึ่งประโยชน์แก่แพทย์ใหม่ และเราก็อยากจะช่วยผู้ที่ตั้งต้นในอาชีพของเราเสมอไป

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    วิชาแพทย์เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ความจริงตั้งใจเป็นยาประเสริฐ ได้ผลคือความเชื่อถือ และเมื่อคนไข้เชื่อท่านแล้ว เขาจะทำตามทุกอย่าง คนไข้โดยมากอยากรู้ความจริง เราไม่เชื่อความหลอกลวงของเราเองแล้วที่ไหนจะหวังให้คนไข้เชื่อ ถ้าท่านหลอก คนไข้แล้วท่านก็ต้องรักษาเขาได้หนเดียว โลกนี้เล็ก ถ้าท่านไม่ให้ยาจนเขาตายเลย ท่านจะเจอเขาอีก และเขามีปากบอกความชั่วความดีกันไปต่อๆ

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    แพทย์ผู้ที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ตนทำ และพูดหลอกให้คนไข้เชื่อนั้น คือ แพทย์ทุจริต

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑

  5. พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929)
    การศึกษานั้นเป็นคุณล้ำเลิศ ... การศึกษานั้นเป็นสิ่งจำเป็น ...เป็นสิ่งควรซื้อด้วยทุนทรัพย์อันมีค่า เหมือนอาหารหรือเครื่องแต่งกาย ฉะนั้นมนุษย์เราทุกคนยินดีแต่งกาย บางคนลงทุนแต่งกายมากกว่ารายได้เสียอีก ... เหตุใดเราจึงยอมเสียเงินแต่งแต่กาย และทำไมเราจึงจะไม่ยอมเสียเงินค่าปัญญาบ้าง

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ ถึง นายซุ่นใช้ แม้นมาษ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒

  6. พ.ศ.2461-2472 (ค.ศ.1918-1929)
    คนที่ไปถึงเมืองไหนแล้วไม่ไปดูมิวเซียม คน ๆ นั้นไม่สิวิไล

    แหล่งที่มา : ทรงสอนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์


    ... เรียนจบสองปีแล้วอยากจะเรียนอะไรต่อไปอีกก็ไม่ว่า เรียนแล้วเกิดไม่สมัครใจกลับเมืองไทยไม่ว่า หรือกลับมาแล้วจะไม่รับราชการก็ไม่ว่า ขอแต่อย่างเดียวเท่านั้นคือขอให้เป็นคนดี ... ...ไปถึงแล้วอย่าก้มหน้าเอาแต่เรียนๆ ไปถึงไหนจงเปิดหูเปิดตาว่าเขามีอะไรทำอะไรกันที่ไหน ต้องให้รู้ทุกสิ่งอย่าง

    แหล่งที่มา : พระดำรัส ประทานแก่นายแพทย์จำรัส ศิริสัมพันธ์ ใน พระจริยวัตรและน้ำพระทัยของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร สุนทรพจน์ แสดงในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๑. สารศิริราช. ๒๕๒๑ ก.ย.;๒๑(๙):๙๔๐-๕๔


    เรื่องตำแหน่งการงานนี้ก็เหมือนหมวก จะหาหมวกให้เหมาะกับหัวคนนั้นคงไม่ยาก แต่เรื่องที่จะหาหัวคนมาให้เหมาะกับหมวกนี่ซิยากนักหนา

    แหล่งที่มา : พระดำรัสในการประชุมคณะกรรมการโรงพยาบาลศิริราช เกี่ยวกับการเลือกตั้งตำแหน่งงานในโรงพยาบาล ใน นายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี เรื่อง “เงินของฉันคือเงินของราษฎร” สารส่งเสริมความรู้ฉบับพิเศษ เนื่อง ในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑๒

คำสอนพระบิดา

Image 1
Image 3
Image 2
Image 4
Image 5

   
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการพัฒนาวงการแพทย์ สาธารณสุข การพยาบาล วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งการอุดมศึกษาของไทย เป็นอันมาก โดยทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข และการอุดมศึกษาของไทย ให้ทันสมัย ทัดเทียมกับต่างประเทศ พระราชทานทุนส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ ณ ต่างประเทศ
               
    การพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน สร้างตึก การจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติ และทรงอุทิศพระองค์ด้วยการไปศึกษาวิชาแพทย์และสาธารณสุข และมาปฏิบัติงานในฐานะแพทย์ รวมทั้งทรงพระกรุณาเป็นพระอาจารย์สอนนักเรียนเตรียมแพทย์ด้วย

    "การที่พระองค์ทรงอุบัติมาในโลกนี้ ทำให้โลกนี้ดีขึ้นเป็นแน่แท้" ศ. นพ. เอ.จี. เอลลิส

ตามรอยพระอนุศาสน์
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

  1. พ.ศ 2461 (ค.ศ.1918)
    True success is not in the learning,
    but in its application to the benefit of mankind

    แหล่งที่มา : คติพจน์ที่ทรงบันทึกไว้ที่แผ่นแรกหน้าสองของสมุดบันทึกปฏิบัติการวิชา Bacteriology ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

  2. พ.ศ.2466-2467 (ค.ศ.1923-1924)
    I do not want you to be only a doctor But I also want you to be a man.
    ขอให้พวกเธอจงเข้าใจและจำไว้ว่า ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอมีความรู้ทางแพทย์อย่างเดียว ฉันต้องการให้พวกเธอเป็น คนด้วย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑ ใน ศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนวย เสมรสุต เรื่อง พระกรณียกิจของ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร ที่ได้ประทานให้แก่แพทย์ปริญญารุ่นแรก ปี ๒๔๗๑. สารส่งเสริมความรู้. ฉบับพิเศษเนื่องในวันมหิดล พ.ศ.๒๕๐๗ หน้า ๑๐-๑๑


    เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้วมันจะไม่กลับมาอีก ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันให้เป็นประโยชน์แล้ว เราไม่ใช้มันก็เป็นที่น่าเสียดาย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑ ใน ศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนวย เสมรสุต เรื่อง พระกรณียกิจของ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร ที่ได้ประทานให้แก่แพทย์ปริญญารุ่นแรก ปี ๒๔๗๑. สารส่งเสริมความรู้ ฉบับพิเศษเนื่องในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑๐ – ๑๑


    พวกเธอทั้งหลาย การเล่นนั้นเป็นของดี การเรียนนั้นก็เป็นของดีและสำคัญ แต่การที่จะให้ดีกว่านั้น คือคนที่เรียนก็ดีและเล่นก็ดีด้วย

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒.


    เมืองเรายังไม่มีอะไรเลย พวกเราต้องรู้ไว้ เมื่อเราเรียนสำเร็จแล้ว ควรพยายามคิดค้นทางวิชาการให้กว้างขวางขึ้น จะได้เทียบเคียงกับต่างประเทศเขาได้บ้าง ถ้ายังไม่รู้จะทำอะไรใหม่ก็ให้ศึกษาหาสิ่งธรรมดา ให้รู้ว่าคนไทย เรานั้นมีอะไรเป็นธรรมดาซึ่งเป็นมาตรฐาน

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒


    อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ์ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์ อาชีพแพทย์ต้องยึดมั่นในอุดมคติคือ เมตตา กรุณา

    แหล่งที่มา : ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ ใน นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว. เรื่อง ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์. สารศิริราช. ๒๔๙๔ ก.ย.;๓(๙):๕๓๖-๔๒.

  3. พ.ศ.2470 (ค.ศ.1927)
    หัวใจของการเรียน ก็อยู่ที่ Practice

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง มจ.พูนศรีเกษม เกษมศรี วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐

  4. พ.ศ.2471 (ค.ศ.1928)
    คุณลักษณะสำหรับการเป็นแพทย์นั้น คือความเชื่อถือไว้ใจ
    ๑. ท่านต้องมีความเชื่อในความสามารถของตนเอง คือมีความมั่นใจ
    ๒. ท่านต้องมีความไว้ใจระหว่างแพทย์กันเอง คือความเป็นปึกแผ่น
    ๓. ท่านต้องได้ความเชื่อถือจากคนไข้ของท่าน คือความไว้ใจของคณะชน
    คุณสมบัติสามประการนี้เป็นอาวุธเกราะ และเครื่องประดับอันงามของแพทย์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    การที่จะได้ความไว้ใจของคนไข้ ขอท่านถือสุภาษิตว่า “ใจเขาใจเรา” ท่านอยากได้ความสบายแก่ตัวท่านอย่างไร ก็ควรพยายามให้ความสบายแก่คนไข้อย่างนั้น

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ความลับของการรักษาคนไข้นั้นคือ ความรักคนไข้

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นสุภาษิตของ ศาสตราจารย์ ฟรานซิส ว. พีบอดี (Francis W. Peabody)


    ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษยเปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    การที่เรียนจบหลักสูตรวิชาชีพแพทย์นั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นได้เรียนรู้การแพทย์หมดแล้ว แต่เป็นการตรงกันข้าม การที่เรียนจบนั้นเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของวิชาการศึกษาทางแพทย์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอ.จี. เอลลิส เรื่องประทานทุนเพื่อทำการสืบค้นคว้าและการสอนในโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑


    “เวลาที่ต้องรับผิดชอบเป็นผู้ดูแลคนไข้นั้น เป็นเวลาที่จะได้เรียนมากที่สุด"

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง นายแพทย์มนตรี มงคลสมัย กุมารแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งได้ทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ไปเรียนวิชากุมารเวชศาสตร์ ที่โรงพยาบาลเด็ก เมืองบอสตัน
    วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑


    จะเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในภายหน้าไม่ได้ นอกจากแพทย์ผู้นั้น เมื่อสำเร็จวิชามาใหม่ๆ จะรู้สึกตนว่าตนจะต้องยังคงเป็นนักเรียนอยู่ต่อไปอีกตลอดเวลาที่ทำการแพทย์นั้น

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึง ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอ.จี. เอลลิส เรื่องประทานทุนเพื่อทำการสืบค้นคว้าและการสอนในโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑


    ท่านควรยกย่องคณะที่ให้การศึกษาแก่ท่าน ท่านควรมีความภูมิใจในคณะของท่าน และท่านไม่ควรเรียนวิชาขึ้นใจ แล้วใช้เป็นเครื่องมือหากินเท่านั้นควรเก็บคำสอน ใส่ใจ และประพฤติตามผู้ที่จะบำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่าง ความประพฤติ ซึ่งจะนำมาแห่งสุขภาพแพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวสอนแก่คนไข้แล้วจะหาความไว้ใจจากคนไข้อย่างไรได้ท่านควรมีความเชื่อในตนเอง ไม่ใช่อวดดี ท่านต้องรู้สึกความรับผิดชอบและทำไปด้วยความตั้งใจดี แพทย์ผู้ที่ไม่ เชื่อในสิ่งที่ตนทำ และพูดหลอกให้คนไข้เชื่อนั้น คือแพทย์ทุจริตที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “แคว๊ค”ถึงแม้ผู้นั้นจะได้รับการศึกษาวิทยาศาสตร์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ในขณะที่ท่านประกอบกิจแพทย์ อย่านึกว่าท่านตัวคนเดียว จงนึกว่าท่านเป็นสมาชิกของ “สงฆ์” คณะหนึ่งคือคณะแพทย์ ท่านทำดีหรือร้ายได้ความเชื่อถือหรือความดูถูก เพื่อนแพทย์อื่นๆ จะพลอยยินดีหรือเจ็บร้อนอับอาย ด้วยนึกถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เป็นแพทย์ด้วยกันแพทย์ทุกคนมีกิจที่จะแสดงความกลมเกลียวในคณะแพทย์ต่อสาธารณชน เมื่อเกิดความเลื่อมใสในคณะแพทย์ขึ้นในหมู่ประชาชนแล้ว ผู้ที่จะตั้งต้นทำการแพทย์ ถึงจะยังไม่ได้มีโอกาสตั้ง ตัวในความไว้ใจของคน ก็จะได้ส่วนความไว้ใจเพราะเป็นสมาชิกของคณะที่มีผู้นับถือ เราเห็นพระบวชใหม่ที่ยังไม่เป็นสมภารเราก็ยกมือไหว้เพราะเรามีความนับถือในลัทธิของพระสงฆ์ฉันใดก็ดี แพทย์หนุ่มก็ได้ความไว้ใจเพราะคณะของเขา เป็นที่น่าไว้ใจ เพราะฉะนั้นความประพฤติดีของแพทย์บุคคลนำมาซึ่งประโยชน์แก่แพทย์ใหม่ และเราก็อยากจะช่วยผู้ที่ตั้งต้นในอาชีพของเราเสมอไป

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    วิชาแพทย์เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    ความจริงตั้งใจเป็นยาประเสริฐ ได้ผลคือความเชื่อถือ และเมื่อคนไข้เชื่อท่านแล้ว เขาจะทำตามทุกอย่าง คนไข้โดยมากอยากรู้ความจริง เราไม่เชื่อความหลอกลวงของเราเองแล้วที่ไหนจะหวังให้คนไข้เชื่อ ถ้าท่านหลอก คนไข้แล้วท่านก็ต้องรักษาเขาได้หนเดียว โลกนี้เล็ก ถ้าท่านไม่ให้ยาจนเขาตายเลย ท่านจะเจอเขาอีก และเขามีปากบอกความชั่วความดีกันไปต่อๆ

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑


    แพทย์ผู้ที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ตนทำ และพูดหลอกให้คนไข้เชื่อนั้น คือ แพทย์ทุจริต

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑

  5. พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929)
    การศึกษานั้นเป็นคุณล้ำเลิศ ... การศึกษานั้นเป็นสิ่งจำเป็น ...เป็นสิ่งควรซื้อด้วยทุนทรัพย์อันมีค่า เหมือนอาหารหรือเครื่องแต่งกาย ฉะนั้นมนุษย์เราทุกคนยินดีแต่งกาย บางคนลงทุนแต่งกายมากกว่ารายได้เสียอีก ... เหตุใดเราจึงยอมเสียเงินแต่งแต่กาย และทำไมเราจึงจะไม่ยอมเสียเงินค่าปัญญาบ้าง

    แหล่งที่มา : ลายพระหัตถ์ ถึง นายซุ่นใช้ แม้นมาษ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒

  6. พ.ศ.2461-2472 (ค.ศ.1918-1929)
    คนที่ไปถึงเมืองไหนแล้วไม่ไปดูมิวเซียม คน ๆ นั้นไม่สิวิไล

    แหล่งที่มา : ทรงสอนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์


    ... เรียนจบสองปีแล้วอยากจะเรียนอะไรต่อไปอีกก็ไม่ว่า เรียนแล้วเกิดไม่สมัครใจกลับเมืองไทยไม่ว่า หรือกลับมาแล้วจะไม่รับราชการก็ไม่ว่า ขอแต่อย่างเดียวเท่านั้นคือขอให้เป็นคนดี ... ...ไปถึงแล้วอย่าก้มหน้าเอาแต่เรียนๆ ไปถึงไหนจงเปิดหูเปิดตาว่าเขามีอะไรทำอะไรกันที่ไหน ต้องให้รู้ทุกสิ่งอย่าง

    แหล่งที่มา : พระดำรัส ประทานแก่นายแพทย์จำรัส ศิริสัมพันธ์ ใน พระจริยวัตรและน้ำพระทัยของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร สุนทรพจน์ แสดงในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๑. สารศิริราช. ๒๕๒๑ ก.ย.;๒๑(๙):๙๔๐-๕๔


    เรื่องตำแหน่งการงานนี้ก็เหมือนหมวก จะหาหมวกให้เหมาะกับหัวคนนั้นคงไม่ยาก แต่เรื่องที่จะหาหัวคนมาให้เหมาะกับหมวกนี่ซิยากนักหนา

    แหล่งที่มา : พระดำรัสในการประชุมคณะกรรมการโรงพยาบาลศิริราช เกี่ยวกับการเลือกตั้งตำแหน่งงานในโรงพยาบาล ใน นายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี เรื่อง “เงินของฉันคือเงินของราษฎร” สารส่งเสริมความรู้ฉบับพิเศษ เนื่อง ในวันมหิดล พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑๒